เมื่อปี พ.ศ. 2427 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้มอบแมววิเชียรมาศคู่หนึ่งให้แก่ กงสุลอังกฤษชื่อนาย โอเวน กูลด์ (OWEN GOULD) แมวไทยคู่นี้ชนะการประกวดแมวที่ กรุงลอนดอน และทำให้ชาวอังกฤษพากันเลี้ยงแมวไทยมากขึ้น จนถึงขั้นตั้งเป็นสโมสรแมวไทยถึง 2 แห่ง
นอกจากประเทศอังกฤษแล้ว พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ยังทรงมอบแมวไทยให้แก่ประเทศเพื่อนบ้านอีกหลายประเทศ เช่น อเมริกา จนทำให้แมวไทยมีชื่อเสียงไปทั่วโลกในสมัยนั้น
แมววิเชียรมาศ เป็นแมวไทยชนิดแรกที่ฝรั่งรู้จัก และตั้งชื่อว่า SIAMESE CAT หรือ SEAL POINT (แมวแต้มสีครั่ง) อันเป็นแมวไทยต้นตระกูลที่ฝรั่งนำไปปรับปรุงสายพันธุ์ จนได้แมววิเชียรมาศลูกผสมต่าง ๆ อีก 8 ชนิด
แมววิเชียรมาศ สายพันธุ์แท้ จะมีนัยตาสีฟ้าประกายสดใส ขณะอายุน้อยมีขนสีครีมอ่อน เมื่อโตขึ้น สีขนจะเข้ม เป็นสีน้ำตาล มีแต้มสีน้ำตาลไหม้อยู่ 9 แห่ง คือ ปลายจมูก 1 ปลายหูสองข้าง ปลายเท้าทั้งสี่ ปลายหาง 1, และที่อวัยวะเพศ 1 (ทั้งเพศผู้และเพศเมีย) นับเป็นแต้มสีที่อยู่ในตำแหน่งเหมาะเจาะน่าพิศวง แตกต่างจากแมวพันธุ์อื่นที่มักมีแต้มสีเลอะเทอะไม่เป็นที่ และเป็นลักษณะเด่นที่สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ ไม่ว่าจะนำไปผสมกับแมวพันธุ์อื่นจะได้แต้มสีตามร่างกาย ตามตำแหน่งเดียวกันเสมอ แต่รูปร่างจะไม่สง่างามเท่าและอุปนิสัยจะไม่ถ่ายทอดไปยังลูกผสม
แมววิเชียรมาศเป็นแมวไทยโบราณ ในสมุดข่อยยกย่องว่าเป็นแมวให้ลาภ เลี้ยงกันเฉพาะในราชสำนัก ผู้ใดเลี้ยงไว้จะได้เป็นขุนนาง ปัจจุบัน เรียกแมวพันธุ์นี้ว่า “ แมวเก้าแต้ม” แต่เป็นแมวคนละชนิดกับแมวเก้าแต้มสมัยโบราณ ซึ่งสูญพันธุ์ไปแล้ว
ลักษณะโดยทั่วไป
ลักษณะที่เป็นข้อเด่น
ลักษณะสีขน : ขนสั้นแน่นสีขาว หรือสีน้ำตาลอ่อน มีแต้มสีครั่ง หรือสีน้ำตาลไหม้ที่บริเวณใบหน้า หูทั้งสองข้าง เท้าทั้งสี่ หางและที่อวัยวะเพศ (ทั้งแมวเพศผู้และแมวเพศเมีย) รวม 9 แห่ง ขณะที่อายุยังน้อย หรือเป็นลูกแมว สีขนจะออกสีครีมอ่อนๆ หรือขาวนวล พอโตขึ้นสีจะค่อยๆ เข้มขึ้นตามลำดับจนเป็นสีน้ำตาล (สีลูกกวาด)
ลักษณะของส่วนหัว : รูปหัวไม่กลม หรือแหลมเกินไป หน้าผากใหญ่และแบน จมูกสั้น หูใหญ่ ตั้งสูงเด่นบนส่วนหัว
ลักษณะของนัยน์ตา : ตาสีฟ้า
ลักษณะของหาง : หางยาว ปลายแหลมชี้ตรง โคนหางใหญ่และค่อยๆ เล็กเรียวกลมไปจนสุดปลายหาง ขายาวเรียวได้สัดส่วนกับลำตัว
ลักษณะที่เป็นข้อด้อย
ขนยาวเกินไป มีแต้มสีไม่ครบทั้ง 9 แห่ง แต้มสีอื่นที่ไม่ใช่สีน้ำตาลไหม้ นัยน์ตาสองข้างเป็นคนละสี หรือเป็นสีอื่นๆ ตาเอียง จมูกหัก หูไม่ตั้ง หางสั้นเกินไป (เมื่อยืนขาหลังให้ขนานกับหาง ความยาวของหางสั้นกว่าขาเกิน 3 นิ้ว ) หางขอด หางหงิกงอ หางสดุด ปลายหางคด ดุเกินไป เลี้ยงลูกไม่ดี
แมววิเชียรมาศ เป็นแมวไทยชนิดแรกที่ฝรั่งรู้จัก และตั้งชื่อว่า SIAMESE CAT หรือ SEAL POINT (แมวแต้มสีครั่ง) อันเป็นแมวไทยต้นตระกูลที่ฝรั่งนำไปปรับปรุงสายพันธุ์ จนได้แมววิเชียรมาศลูกผสมต่าง ๆ อีก 8 ชนิด
แมววิเชียรมาศ สายพันธุ์แท้ จะมีนัยตาสีฟ้าประกายสดใส ขณะอายุน้อยมีขนสีครีมอ่อน เมื่อโตขึ้น สีขนจะเข้ม เป็นสีน้ำตาล มีแต้มสีน้ำตาลไหม้อยู่ 9 แห่ง คือ ปลายจมูก 1 ปลายหูสองข้าง ปลายเท้าทั้งสี่ ปลายหาง 1, และที่อวัยวะเพศ 1 (ทั้งเพศผู้และเพศเมีย) นับเป็นแต้มสีที่อยู่ในตำแหน่งเหมาะเจาะน่าพิศวง แตกต่างจากแมวพันธุ์อื่นที่มักมีแต้มสีเลอะเทอะไม่เป็นที่ และเป็นลักษณะเด่นที่สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ ไม่ว่าจะนำไปผสมกับแมวพันธุ์อื่นจะได้แต้มสีตามร่างกาย ตามตำแหน่งเดียวกันเสมอ แต่รูปร่างจะไม่สง่างามเท่าและอุปนิสัยจะไม่ถ่ายทอดไปยังลูกผสม
แมววิเชียรมาศเป็นแมวไทยโบราณ ในสมุดข่อยยกย่องว่าเป็นแมวให้ลาภ เลี้ยงกันเฉพาะในราชสำนัก ผู้ใดเลี้ยงไว้จะได้เป็นขุนนาง ปัจจุบัน เรียกแมวพันธุ์นี้ว่า “ แมวเก้าแต้ม” แต่เป็นแมวคนละชนิดกับแมวเก้าแต้มสมัยโบราณ ซึ่งสูญพันธุ์ไปแล้ว
ลักษณะโดยทั่วไป
ลักษณะที่เป็นข้อเด่น
ลักษณะสีขน : ขนสั้นแน่นสีขาว หรือสีน้ำตาลอ่อน มีแต้มสีครั่ง หรือสีน้ำตาลไหม้ที่บริเวณใบหน้า หูทั้งสองข้าง เท้าทั้งสี่ หางและที่อวัยวะเพศ (ทั้งแมวเพศผู้และแมวเพศเมีย) รวม 9 แห่ง ขณะที่อายุยังน้อย หรือเป็นลูกแมว สีขนจะออกสีครีมอ่อนๆ หรือขาวนวล พอโตขึ้นสีจะค่อยๆ เข้มขึ้นตามลำดับจนเป็นสีน้ำตาล (สีลูกกวาด)
ลักษณะของส่วนหัว : รูปหัวไม่กลม หรือแหลมเกินไป หน้าผากใหญ่และแบน จมูกสั้น หูใหญ่ ตั้งสูงเด่นบนส่วนหัว
ลักษณะของนัยน์ตา : ตาสีฟ้า
ลักษณะของหาง : หางยาว ปลายแหลมชี้ตรง โคนหางใหญ่และค่อยๆ เล็กเรียวกลมไปจนสุดปลายหาง ขายาวเรียวได้สัดส่วนกับลำตัว
ลักษณะที่เป็นข้อด้อย
ขนยาวเกินไป มีแต้มสีไม่ครบทั้ง 9 แห่ง แต้มสีอื่นที่ไม่ใช่สีน้ำตาลไหม้ นัยน์ตาสองข้างเป็นคนละสี หรือเป็นสีอื่นๆ ตาเอียง จมูกหัก หูไม่ตั้ง หางสั้นเกินไป (เมื่อยืนขาหลังให้ขนานกับหาง ความยาวของหางสั้นกว่าขาเกิน 3 นิ้ว ) หางขอด หางหงิกงอ หางสดุด ปลายหางคด ดุเกินไป เลี้ยงลูกไม่ดี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น